ศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อครอบครัวสมานฉันท์
บ้านพักฉุกเฉิน สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ
บริบทของการดำเนินงาน
ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง พ.ศ. 2550 นั้น ทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรง
มีจำกัดมาก เพราะหากต้องการการคุ้มครองทางกฎหมาย ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทางอาญา ซึ่งมีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษ
ผู้กระทำความผิด ไม่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาครอบครัว หรือ ในความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เพราะมีลักษณะพิเศษ
แตกต่างจากการทำร้ายร่างกายระหว่างบุคคลโดยทั่วไป
เมื่อมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ 2550 นั้น นับเป็นการนำเสนอ
ทางเลือกให้แก่ผู้หญิงมากขึ้น เพราะสามารถกำหนดรูปแบบวิธีการ และขั้น ตอนที่มีลักษณะแตกต่างจากการดำเนิน
คดีอาญาโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการที่ใช้มาตรการตามพระราชบัญญัติฯ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกกระทำ
ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหมายถึงว่า ต้องอาศัยเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อเข้าสู่มาตรการทางกฏหมายตาม
พระราชบัญญัติฯ หลังจากที่บังคับใช้มา 3 ปี ปรากฏว่า มีกรณีที่เข้าสู่กระบวนการตามพระราชบัญญัติฯน้อยมาก ซึ่งส่วน
หนึ่งเนื่องจากผู้ประสบปัญหาไม่รู้ว่าสามารถได้รับความคุ้มครองได้ หรือ ยังไม่มั่นใจในกระบวนการมากพอ
ในฐานะที่บ้านพักฉุกเฉินมีพันธกิจในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความรุนแรง สมาคมฯ จึงเห็นว่า น่าที่จะ
ส่งเสริมการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ นี้ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว ในทางปฏิบัติ ก็ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ณ ระดับหนึ่ง แต่
สามารถที่จะจัดบริการเป็นการเฉพาะให้ชัดเจนที่ผู้ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายมากขึ้น สมาคมฯ จึง
เห็นสมควรจัดให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาเพื่อครอบครัวสมานฉันท์ โดยมุ่งที่จะให้บริการตามกรอบพระราชบัญญัติฯ อย่าง
เหมาะสม ซึ่งบ้านพักฉุกเฉินมีความพร้อม เนื่องจากเป็นพันธกิจของการทำงานอยู่แล้ว อีกทั้งยังมีนักจิตวิทยา และนัก
สังคมสงเคราะห์ ที่ผ่านการอบรมในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฯ ซึ่งสามารถที่จะดำเนินการได้อย่าง
เต็มที่ โดยเฉพาะเมื่อได้รับความร่วมมือจากสำนักงานอัยการสูง สุดในการที่จะเอื้อต่อกระบวนการให้ค าปรึกษาทาง
กฏหมาย ซึ่งจะท าให้การดำเนินงานสามารถเป็นไปอย่างรอบด้าน และหากมีการจัดบริการที่ขยายบทบาทตามกรอบ
พระราชบัญญัติให้กว้างขึ้น และเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป ก็จะเป็นการทำให้ผู้ประสบปัญหาสามารถเข้าถึงบริการได้เต็มที่
มากขึ้น และเอื้อต่อการสมานฉันท์ของครอบครัวตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฯ
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินการยุติความรุนแรงในครอบครัว โดยจัดให้มี ให้มีโครงสร้างการทำงาน ในลักษณะที่
เป็นเครือข่ายที่ชัดเจน เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ในกรณีที่ผู้หญิงที่ประสบ หรือคาดว่าจะประสบปัญหาความรุนแรงทั้งที่ต้องการจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และที่ไม่ต้องการที่จะร้องทุกข์ตาม มาตรา 6 ของพระราชบัญญัติฯ แต่ต้องการให้มี
การช่วยเหลือ ก็จะสามารถรับการปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือได้ หรือ สามารถทราบถึงทางเลือกต่างๆที่จะเอื้อให้เกิดการ
สมานฉันท์ในครอบครัว หรือ การคุ้มครองดูแลได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
กรอบภารกิจและรูปแบบการดำเนินงานของศูนย์ฯ
ภารกิจโดยหลัก คือ การให้คำปรึกษา และความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกกระทำ รวมทั้งผู้กระทำที่สมัครใจ และแสวงหาความ
ช่วยเหลือ ซึ่งจะนำไปสู่ครอบครัวสมานฉันท์ ซึ่งบริการ และคำปรึกษาที่ให้นั้น ครอบคลุมทั้งในเรื่องของ
จิตใจ เศรษฐกิจ สังคม และในด้านกฎหมายนั้น เป็นการทำงานเชื่อมกับสำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานอื่นๆทั้ง
ภาครัฐและเอกชน รวมไปถึง การดำเนินกิจกรรมอื่นๆที่เอื้อต่อการสมานความขัดแย้งในครอบครัว
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
ผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทั้งผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำมีช่องทางมากขึ้นในการเข้าถึงการแก้ไขปัญหา โดย
อาศัยมาตรการต่างๆตามกรอบของ พระราชบัญญัติ เพื่อให้ครอบครัวเกิดความสมานฉันท์มากขึ้น
การดูแลปัญหาความรุนแรงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติได้เต็มที่มากขึ้น